ชวนรู้จัก 3 สมุนไพรไทย กินได้ มีประโยชน์ เสริมแกร่งภูมิคุ้มกัน สู้ “โควิด-19” - ASEAN All News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Friday, February 19, 2021

ชวนรู้จัก 3 สมุนไพรไทย กินได้ มีประโยชน์ เสริมแกร่งภูมิคุ้มกัน สู้ “โควิด-19”

 


ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยยังน่าเป็นห่วง ทุกคนจึงควรหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพ เลือกดื่ม เลือกทานของดีมีประโยชน์ให้มากขึ้น วันนี้จึงจะพาทุกคนไปรู้จัก “สมุนไพรไทย” หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทยเป็นภูมิปัญญารุ่นต่อรุ่น เปี่ยมคุณประโยชน์ ปลอดภัยไร้สารเคมี ผู้คนส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้เป็นวัตถุดิบปรุงอาหาร ทำเครื่องสำอาง และยาทางการแพทย์ และรู้ไหมว่า 3 ในสมุนไพรไทย ได้แก่ “ฟ้าทะลายโจร” “ขมิ้นชัน” และ “พลูคาว” นั้น มีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายเราแข็งแรง เหมาะกับช่วงเวลานี้เป็นอย่างยิ่งทีเดียว

ข้อมูลจากผลการวิจัยทางการแพทย์ ระบุว่า สมุนไพรทั้ง 3 ชนิด มีประโยชน์มากมาย เริ่มจาก “ฟ้าทะลายโจร” สุดยอดสมุนไพรที่คนไทยรู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทางการแพทย์แผนไทย ใช้บรรเทาอาการไข้หวัด แก้ไอ เจ็บคอ รวมไปถึงอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ทั้งนี้ยังมีผลจากงานวิจัยที่น่าสนใจว่า ฟ้าทะลายโจรสามารถช่วยลดอาการผิดปกติของปอด ลดจำนวนไวรัสในปอด ทั้งยังช่วยยับยั้งเชื้อไวรัส Corona Virus ในหลอดทดลองได้อีกด้วย เป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่เต็มไปด้วยคุณประโยชน์และหาได้ง่ายในยุคปัจจุบัน

ต่อมา “ขมิ้นชัน” อีกหนึ่งสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้กันมายาวนาน มีแทบทุกครัวเรือนไทย ได้มีการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเพิ่มสีสันแต่งกลิ่น และรสชาติของอาหาร รวมถึงใช้เป็นเครื่องสำอาง นอกจากนั้นยังมีคุณประโยชน์มากมายที่แฝงอยู่ ซึ่งเรียกได้ว่า ขมิ้นชัน เป็นขุมทรัพย์แห่งเอเชียเลยก็ว่าได้ มีผลจากงานวิจัยพบว่า เคอร์คูมินอยด์ (curcuminoids) ในขมิ้นชัน สามารถช่วยต้านอาการอักเสบ บรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้หลายชนิด บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสได้ดีเช่นกัน

และสมุนไพรไทยชนิดสุดท้าย ที่ต้องขอพูดถึง คือ “พลูคาว” สุดยอดสมุนไพร มีชื่อท้องถิ่นได้หลายชื่อ เช่น พลูคาว ผักคาวตอง ผักก้านตอง ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาคเหนือและอีสานใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือทานกับลาบอย่างเอร็ดอร่อย ซึ่งยังมีข้อมูลจากสถาบันวิจัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในปี 2548 ได้ระบุว่า พลูคาวสามารถรักษาภาวะภูมิแพ้ หอบหืด เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ การแพ้อาหาร ทั้งยังสามารถรักษาภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และช่วยเสริมภูมิต้านทานให้แก่ร่างกายได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังได้มีงานวิจัยออกมาสนับสนุนอีกเช่นกันว่า พลูคาวมีฤทธิ์ทำลาย และยับยั้งเชื้อไวรัสได้หลายชนิด คือ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เอดส์ เริม และไวรัสที่ทำให้เป็นโรคมือเท้าปากเปื่อย โดยปัจจุบันนี้ในประเทศจีนมีการใช้พลูคาวเป็นส่วนผสมในตำรับยารักษาโรคที่เกิดจากไวรัส และมีการจดสิทธิบัตรไว้หลายรายการ

นับว่า “สมุนไพรไทย” ซึ่งเป็นผลิตผลจากธรรมชาติ ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองคนไทยมายาวนานนั้น ล้วนมีสรรพคุณที่มีประโยชน์ หาได้ไม่ยาก และสามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกสถานการณ์ หากกำลังมองหาของดี มาทานเพื่อดูแลสุขภาพ เริ่มจาก “ฟ้าทะลายโจร” “ขมิ้นชัน” และ “พลูคาว” สมุนไพรใกล้ตัว นำมาปรุงอาหารสดร้อน ทานที่บ้านเป็นประจำ หรือทานอาหารเสริมที่มีวัตถุดิบของสมุนไพรดังกล่าว ก็สามารถช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายเราแข็งแรงได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นักธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ หรือโทรกิฟฟารีน 1101 กิฟฟารีน เดลิเวอรี่ โทร 02-619-5222 และสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ Facebook: giffarineofficial Line@giffarinethailand www.giffarine.com, Shopee และ Lazada




เกี่ยวกับ “กิฟฟารีน”

“ทุกครั้งที่คุณใช้กิฟฟารีน นั่นคือความรับผิดชอบของเรา...ทุกครั้งที่คุณเชื่อมั่นในกิฟฟารีน นั่นคือ ความภูมิใจของเรา” กิฟฟารีนก่อกำเนิดจากความมุ่งมั่นของคณะแพทย์ และเภสัชกรที่ร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อคุณภาพชีวิตของคนไทย ผ่านการรับรองที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ด้วยปณิธานยึดมั่นในความจริงใจ และความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคอันเต็มเปี่ยม

“กิฟฟารีน” มียอดขายที่เติบโตอย่างต่อเนื่องอันเกิดจากการวางแผนการตลาดที่มีวิสัยทัศน์ แผนการขายที่มีประสิทธิภาพ สามารถสร้างความมั่นคงให้แก่นักธุรกิจกิฟฟารีน พร้อมทั้งการสนับสนุนด้วยผลิตภัณฑ์คุณภาพ ในฐานะผู้นำธุรกิจเครือข่ายที่พร้อมจะตอบสนอง และสร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภคในระยะยาว ปัจจุบัน “กิฟฟารีน” มีโรงงานที่ได้รับมาตรฐานระดับโลก ด้วยเงินลงทุนสูงกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับคนไทยมากที่สุด รวมไปถึงสามารถควบคุมต้นทุนการผลิต ตลอดจนคัดเลือกคุณภาพของวัตถุดิบที่ดีที่สุด

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad





Pages