เจาะลึก ตามล่า... “ปริศนาการนอน” นอนไม่มีคุณภาพ ร่างกายทั้งเสี่ยงและเสื่อม เสียชีวิตได้ก่อนวัยอันควร! - ASEAN All News

ASEAN All News

ข่าวสารอัพเดท ทันทุกเทรนด์โลก รอบรั้วอาเซียน

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Monday, March 14, 2022

เจาะลึก ตามล่า... “ปริศนาการนอน” นอนไม่มีคุณภาพ ร่างกายทั้งเสี่ยงและเสื่อม เสียชีวิตได้ก่อนวัยอันควร!

 


“ตามล่า...ปริศนาการนอน” เป็นเรื่องราวเจาะลึกปัญหานอนน้อย นอนไม่พอ หยุดหายใจขณะหลับ EOLIFEMED ร่วมกับ TNNHEALTH นำเสนอข้อมูลฉบับเต็มด้วยเนื้อหา เจาะลึกจากอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเชี่ยวชาญคุณภาพการนอนหลับมาไขความลับของปริศนาการนอนที่ใช้เวลามากถึงหนึ่งในสามของชีวิตว่ามีกลไกที่ซ่อนเร้นที่หลายคนอาจไม่รู้มาก่อนว่า โรคจากการนอนที่ไม่มีคุณภาพ สร้างอันตรายต่อชีวิตแค่ไหน


นางสุภาพรรณ์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีโอ ไลฟ์เมด จำกัด ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายเครื่องช่วยหายใจขณะหลับ RESMEDและเครื่องตรวจวิเคราะห์การนอนหลับ NOX
 เปิดเผยว่า นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน (หมอแทน) ได้แนะนำบริษัทให้มีส่วนร่วมเสริมสร้างการรับรู้ความสำคัญของคุณภาพการนอนหลับในช่วงเฉลิมฉลองในวันนอนหลับโลก (World Sleep Day) ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2565 เพื่อเป็นการต่อยอดจากหมอแทนครั้งหนึ่งเมื่อ 3-4 ปีก่อนได้แต่งหนังสือคุณภาพการนอนหลับแบบอ่านง่าย ๆ สำหรับบุคคลทั่วไป โดยแนะนำให้ทำอย่างจริงจังเพื่อสังคม โดยเรียนเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาการนอนหลับซึ่งแพทย์ไทยมีชื่อเสียงมากระดับ Inter มาให้ความรู้การนอนหลับที่ดี มีคุณภาพ การดูแล การใส่ใจการนอน กับการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นประโยชน์ให้ประชาชนชาวไทยให้มีสุขภาพแข็งแรง อยู่อย่างมีความสุข โดยเฉพาะที่ไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ

เหตุผล...คุณภาพที่ดีของการนอนเป็นเรื่องสำคัญต่อระบบร่างกายทั้งในเรื่องการสร้างการเจริญเติบโต การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมทั้งการกำจัดขยะในสมองที่มีการวิจัยในต่างประเทศจากมหาวิทยาลัยสโตนีบรูค (Stony Brook University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ลงในวารสารประสาทวิทยา (Journal of Neuroscience) เผยว่าระบบกลิมพาติก (Glymphatic System) จะทำงานคล้ายกับระบบต่อมน้ำเหลืองของร่างกาย เพื่อกำจัดขยะในสมอง เช่น อัลมีลอยด์ บีตา (Amyloid Beta) และโปรตีนเทา (Tau Proteins) เป็นตัวจุดชนวนโรคอัลไซเมอร์ และโรคระบบประสาทอื่น ๆ ตามมา ซึ่งกระบวนการทั้งหมดเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาการนอนอย่างมีคุณภาพ”

ทั้งนี้ บริษัทได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก 3 สมาคม ได้แก่ สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย สมาคมนิทราเวชศาสตร์ และสมาคมโรคนอนกรนและการนอนหลับ กับท่านอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาคุณภาพการนอน ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นครั้งแรกก็ว่าได้ที่จะกระตุ้นการรับรู้ให้กับสังคมตระหนักถึงความสำคัญของการนอนอย่างเป็นกระบวนการ มีการจัดเรียงเนื้อหาให้ความรู้แบบง่ายต่อการเข้าใจ ซึ่งผลิตสื่อโดย TNN ออกอากาศในรายการ TNN HEALTH ช่อง TNN16 และทางSocial Media ของ TNN HEALTH ให้ความรู้แก่ประชาชน และเพื่อไขความลับการตามล่าปริศนาการนอน โดยได้ตั้งชื่อ ซีรีย์ นี้ว่า “ตามล่า...ปริศนาการนอน” รวม 3 ตอน ซึ่งจะออกอากาศในตอนแรกวันเสาร์ที่ 5, 12, 19 มีนาคม เวลา 15.00-15.30 น. ณ ช่อง TNN16

ตอนที่ 1 ความสำคัญของการนอน คุณภาพการนอนมีผลต่อสุขภาพและมีอันตรายอย่างไร
แนวโน้มความเสี่ยงของโรคอะไรบ้างหากมีคุณภาพการนอนที่ไม่ดี
วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 65 เวลา 15.00-15.30 TNN16 โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย


พลโท ดร. นพ. โยธิน ชินวลัญช์ นายกสมาคมนิทราเวชศาสตร์

ศ.นพ.ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์ นายกสมาคมโรคนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ

อ.พญ. วิสาห์สิริ ตันตระกูล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบหายใจ ศูนย์โรคการนอนหลับ โรงพยาบาลรามาธิบดี


ตอนที่ 2 วิธีสังเกตอาการ วิธีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพการนอน Sleep Test วิธีแนวทางการรักษา
ในวันเสาร์ที่ 12 มีนาคม 65 15.00-15.30 TNN16

Sleep Test Type 1 Polysomnography (PSG)


เป็นเรื่องราวของความสำคัญของการนอน ปัญหาที่พบหากนอนน้อย นอนไม่พอ นอนกรน หรือหยุดหายใจขณะหลับจะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของเรา การทดสอบหาสาเหตุที่สร้างวิกฤติปัญหาการนอนของแต่ละคน ตรวจอย่างเต็มรูปแบบ Type 1, Polysomnography (PSG) ตรวจในโรงพยาบาลโดยผู้เชี่ยวชาญ ให้เห็นปัญหาจริงจากผู้เข้าร่วมการทดสอบในครั้งนี้ กับ “เซียนโอ๊ตโตะ” นักแคสเกมชื่อดังจาก ONLINE STATION ที่ต้องตะลึงกับผลการวิเคราะห์ปัญหาการนอนของตนเองผ่านอุปกรณ์วิเคราะข้อมูลการนอนมาตรฐานระดับโลก แบรนด์ NOX ซึ่งพบว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับต่อเนื่องตลอดชั่วโมงการนอน รวมทั้งเนื้อหาที่จะบอกเล่าถึงแนวทางการปรับตัว การแก้ไข และการใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจขณะหลับ CPAP (ResMed) ที่วงการแพทย์ทั่วโลกให้การยอมรับว่าเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาการนอนได้ดีที่สุด

อาจารย์ นายแพทย์ เกษียรสม วีรานุวัตติ์ (อายุรแพทย์) โรคสมองและระบบประสาท แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคการนอนหลับ โรงพยาบาล สมิติเวช ให้ความรู้เพิ่มเติมว่า การตรวจวิเคราะห์ ใช้เครื่องตรวจวิเคราะห์การนอนหลับ NOX A1s เป็นลักษณะแบบ Full Polysomnography (PSG) ระบบ connect แบบ Bluetooth ติดตั้งง่าย สะดวก รวดเร็ว สบายตัว ไม่รุงรัง ใช้เวลาติดตั้งเพียง 20-30 นาที วัตถุประสงค์เพื่อหาจำนวนครั้งที่หยุดหายใจขณะหลับ เจาะลึกดูคลื่นสมอง เช่น ความฝัน การหลับลึก หลับตื้น ปัจจัยทำให้หยุดหายใจ ความสม่ำเสมอของการเต้นของหัวใจ ระดับออกซิเจนในร่างกายระหว่างหลับลึก หลับตื้น การสะดุ้งตื่นเฮือกหายใจ เป็นต้น ทั้งนี้จะมีการสาธิตการใช้อุปกรณ์และการตรวจวิเคราะห์จริง จากเครื่อง NOX A1s

Sleep Test Type3 Home Sleep Test (HST)

“อีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจซึ่งเริ่มจะเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะช่วง COVID มีจำนวนคนไข้ไม่น้อยที่ไม่อยากไปทำ sleep test ที่โรงพยาบาล โรงพยาบาลเองก็กลัวถึงขั้นปิด Sleep Lab แต่อยากทำที่บ้าน หรือโรงแรม (Home Sleep Test) คนไข้กลุ่มนี้ มักจะมีอาการไม่ค่อยรุนแรง แต่มีเหตุที่น่ารำคาญ เช่น นอนกรน ดังจนรบกวนคนนอนข้าง ๆ ตื่นมาไม่สดชื่น ลุกขึ้นเข้าห้องน้ำบ่อย หาวนอนอยู่เรื่อย บ่าย ๆ จะง่วง ขับรถไม่ปลอดภัย เพื่อนทักว่าทำไมหน้าดูเครียดโซม นอนไม่พอหรือไง เป็นต้น แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจ sleep test แบบ Typ3 ซึ่งจะเป็นการตรวจระบบทางเดินหายใจส่วนบนว่ามีการอุดกั้นจากระบบทางเดินหายใจส่วนไหน ในการสาธิตเราได้ใช้เครื่องตรวจวิเคราะห์การนอนหลับ NOX T3s” อาจารย์ แพทย์หญิง ศิวพร เลิศพงษ์พิรุฬท์ (อายุรศาสตร์) โรคระบบการหายใจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการนอนหลับ โรงพยาบาล ราชวิถี ให้ความรู้เพิ่มเติม

ตอนที่ 3 ปริศนาการนอนหลับกับช่วง COVID ระบาด
วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 65 15.00-15.30 TNN16


เป็นการแลกเปลี่ยน การวิเคราะห์แนวโน้มคนไข้ที่มีปัญหาหยุดหายใจขณะหลับ โดยเฉพาะในช่วง COVID ว่าจำนวนคนไข้มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเพิ่มขึ้นหรือลดลงหรือไม่ อย่างไร และเพราะเหตุใด ภายใต้วิกฤตของ COVID หากแพทย์มีความเห็นว่าคนไข้อยู่ในขั้นวิกฤตที่จะต้องมีการวิเคราะห์การนอนหลับ จะมีวิธีจัดการอย่างไร โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงที่ท่านอาจรู้จักอยู่แล้ว ประกอบด้วย

- รศ. แพทย์หญิง นฤชา จิรกาลวสาน ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินหาย วิกฤตบำบัด และโรคจากการนอนหลับ โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย


- นายแพทย์ ธนีย์ ธนียวัน (หมอแทน) อาจารย์ เชี่ยวชาญโรคปอด วิกฤตบำบัด และBrigham & Women’s Hospital อาจารย์แพทย์ มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด

สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณท่านอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่ร่วมมือกันสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้ครั้งนี้ รวมทั้งทางทีมรายการ TNNHEALTH ที่ตั้งใจผลิตถ่ายทำ ตัดต่อ ผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพสมบูรณ์ ทำให้ประชาชนเข้าใจความสำคัญของการนอน และทำให้ทราบถึงกระบวนการตรวจวิเคราะห์การนอนสามารถเริ่มได้ด้วยตัวเองที่บ้าน หรือจะทำที่โรงแรม นอกเหนือไปจากการตรวจวิเคราะห์ในโรงพยาบาล โดยทุกขั้นตอนควบคุมมาตรฐานโดยเจ้าหน้าที่เทคนิคที่ผ่านการอบรมตามมาตรฐานการแพทย์ระดับสากลเป็นที่ยอมรับ

หรือติดตามชมได้ที่ Link https://youtu.be/zn70TQEKcC

                                           /////////////////////

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages