โรช ไดแอกโนสติกส์ จับมือ สภาเทคนิคการแพทย์ ยกระดับห้องแล็บไทยสู่มาตรฐานสากล ตอกย้ำภาพลักษณ์ไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์ของภูมิภาค โครงการ Lab Benchmarking 2025 ชวนห้องแล็บทั่วประเทศร่วมประเมินและพัฒนาศักยภาพ ตั้งเป้าห้องแล็บมาตรฐานสากลเพิ่มขึ้น 20% ทั่วไทยภายในปี 2568 - ASEAN All News

ASEAN All News

ข่าวสารอัพเดท ทันทุกเทรนด์โลก รอบรั้วอาเซียน

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Tuesday, April 1, 2025

โรช ไดแอกโนสติกส์ จับมือ สภาเทคนิคการแพทย์ ยกระดับห้องแล็บไทยสู่มาตรฐานสากล ตอกย้ำภาพลักษณ์ไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์ของภูมิภาค โครงการ Lab Benchmarking 2025 ชวนห้องแล็บทั่วประเทศร่วมประเมินและพัฒนาศักยภาพ ตั้งเป้าห้องแล็บมาตรฐานสากลเพิ่มขึ้น 20% ทั่วไทยภายในปี 2568

บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผนึกกำลังสภาเทคนิคการแพทย์ เดินหน้าโครงการ Lab Benchmarking 2025 เพื่อผลักดันมาตรฐานและคุณภาพของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (ห้องแล็บ) ทั่วประเทศสู่เกณฑ์สากล โดยมีเป้าหมาย 150 แล็บทั่วไทยเข้าร่วมโครงการ และคาดหวังเพิ่มจำนวนห้องแล็บที่ผ่านการรับรองมาตรฐานให้สูงขึ้น 20% ภายในปี 2568 ความริเริ่มนี้เป็นอีกก้าวสำคัญที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการสร้างประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์และ Wellness ในภูมิภาคเอเชีย พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ


ทนพ.สมชัย เจิดเสริมอนันต์ นายกสภาเทคนิคการแพทย์ และนายมิไฮ อิริเมสซู กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ ประเทศไทย ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือส่งเสริมการทำข้อมูลเชิงลึกของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในประเทศไทยภายใต้โครงการ Lab Benchmarking 2025  โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานของห้องแล็บในประเทศไทย เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากลในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและยกระดับคุณภาพกระบวนการตรวจวินิจฉัย ช่วยส่งเสริมความแม่นยำและความน่าเชื่อถือของผลการตรวจ ซึ่งมีความสำคัญต่อการวินิจฉัยโรคและประสิทธิภาพของการรักษา

ทนพ.สมชัย เจิดเสริมอนันต์ นายกสภาเทคนิคการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีห้องแล็บที่ผ่านการรับรองมาตรฐานรวมจำนวนกว่า1,300 แห่ง โดยแบ่งเป็นห้องแล็บที่ได้รับการรับรองมาตรฐานของสภาเทคนิคการแพทย์ จำนวน 814 แห่ง ห้องแล็บที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวนกว่า 300 แห่ง และห้องแล็บที่ได้รับการรับรองมาตรฐานกระทรวงของไทยอีกจำนวนประมาณ 200 แห่ง การสำรวจจัดเก็บข้อมูลครั้งนี้จะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการจัดการมาตรฐานห้องแล็บ ได้ทราบถึงจุดยืนของห้องแล็บตนเองอยู่ในอันดับใดเมื่อเทียบกับห้องแล็บในกลุ่มเดียวกัน เพื่อนำข้อมูลที่เป็นแนวบริหารจัดการที่ดีมาประยุกต์ใช้ และพัฒนาห้องแล็บ เพื่อยกระดับบริการให้เป็นไปตา มาตรฐานสากล และเพิ่มขีดความสามารถในบริการทางการแพทย์ให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในประเทศไทย


“ในยุคที่การตรวจวินิจฉัยโรคและการให้บริการสาธารณสุขมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ผมอยากเชิญชวนให้ห้องแล็บทั่วประเทศที่เป็นสมาชิกของสภาเทคนิคการแพทย์ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับศักยภาพของห้องแล็บ ในโครงการ Lab Benchmarking 2025 ครั้งนี้ โดยกระบวนการประเมินนี้จะช่วยให้ห้องแล็บสามารถระบุจุดแข็งและจุดที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติมได้อย่างเป็นระบบ การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการตรวจวินิจฉัยจะช่วยส่งเสริมความแม่นยำและความน่าเชื่อถือของผลการตรวจ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวินิจฉัยโรคและการรักษาที่มีประสิทธิภาพ”

นายมิไฮ อิริเมสซู กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการพัฒนาระบบสาธารณสุขของไทยว่า โครงการ Lab Benchmarking 2025 จะทำให้ห้องแล็บทั่วประเทศได้เรียนรู้และปรับปรุงการดำเนินงานโดยใช้เทคโนโลยีและความรู้ที่ทันสมัย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการรับมือกับความท้าทายด้านสุขภาพในอนาคต พร้อมทั้งผลักดันให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทยเติบโตอย่างยั่งยืน ความรู้ที่ได้รับจะทำให้บุคลากรในห้องแล็บมีทักษะที่สามารถแข่งขันในระดับสากลและสามารถถ่ายทอดความรู้ไปยังเพื่อนร่วมงานในเครือข่ายของตนได้


“ความท้าทายสำคัญที่สุดสำหรับห้องแล็บในประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องของความสามารถในการก้าวตามเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว พร้อมกับการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และการสร้างทีมบุคลากรที่มีศักยภาพ เพื่อให้สามารถรักษามาตรฐานระดับสูงไว้ได้แม้ในขณะที่ปริมาณการทดสอบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จของโครงการ Lab Benchmarking 2025 จะไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบสาธารณสุข แต่ยังสนับสนุนนโยบายMedical Hub ของประเทศ ทำให้การให้บริการทางการแพทย์มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ประเทศสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและผู้ที่มองหาบริการทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานระดับโลกได้มากขึ้น การพัฒนาศักยภาพเหล่านี้ถือเป็นการกระจายความรู้และเทคโนโลยีสู่ทุกภูมิภาค เพื่อนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสุขภาพและเสริมสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง” นายมิไฮ กล่าวเพิ่มเติม 

โรชดำเนินการรวบรวมข้อมูล Lab Benchmarking ทุกสองปี โดยให้ตัวแทนจากห้องแล็บเข้าร่วมตอบแบบสอบถามออนไลน์ที่ครอบคลุมประเด็นสำคัญ อาทิ งานคุณภาพ การบริหารจัดการ ต้นทุน และการใช้นวัตกรรม จากนั้นห้องแล็บที่ร่วมตอบแบบสอบถามจะได้รับผลลัพธ์เปรียบเทียบกับห้องแล็บในกลุ่มเดียวกันแบบเรียลไทม์


สำหรับปีนี้ โครงการเปิดรับสมัครห้องแล็บจากทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 และจะเปิดเผยผลวิเคราะห์ข้อมูลประมาณไตรมาส 3 ของปีนี้ โดยมีเป้าหมาย 150 แล็บทั่วไทยเข้าร่วมโครงการ และคาดหวังเพิ่มจำนวนห้องแล็บที่ผ่านการรับรองมาตรฐานให้สูงขึ้น 20% ภายในปี 2568

ด้านทนพ.สมชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายใต้ข้อตกลงนี้ สภาเทคนิคการแพทย์และบริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ ประเทศไทย จะทำงานร่วมกันเพื่อให้มั่นใจว่าจะใช้ข้อมูลไปเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพบริการของห้องปฏิบัติการ และจะนำเสนอผลการวิเคราะห์ผลสำรวจในงานมหกรรมคุณภาพห้องปฏิบัติการ (Thailand LA Forum 2025)  และเผยแพร่ในวารสารการแพทย์ ทั้งนี้ ตัวแทนห้องแล็บสามารถร่วมให้ข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ที่ Lab Insights 


นายมิไฮ กล่าวทิ้งท้ายว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยตอกย้ำภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่เป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการแพทย์ และ Wellness สำคัญของภูมิภาค ที่มีมาตรฐานระดับสากล อีกทั้งยังส่งเสริมการสร้างสังคมที่ทุกคนเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียมและยั่งยืนในอนาคต

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages