Media Intelligence Group (หรือ MI GROUP) เดินหน้าเปิดแผนเชิงรุก ประกาศวิสัยทัศน์ใหม่เพื่อมุ่งสู่การเป็น “A Trusted Advisor” เป็นเพื่อนคู่คิดและเป็นที่ปรึกษาที่คุณไว้ใจ ด้วย “Solution Providers” ที่พร้อมจะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสื่อโฆษณา ด้วยเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดที่จะเพิ่มมูลค่าการตลาดให้กับลูกค้า ท่ามกลางความท้าทายใหม่ๆ ในโลกธุรกิจยุคดิจิทัล ชี้เทรนด์อุตสาหกรรมสื่อโฆษณากำลังจะกลับมา จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งส่งสัญญาณดีในหลากหลายอุตสาหกรรม และยังมองเห็นกระแสการเติบโตด้านกำลังซื้อของผู้บริโภคที่เริ่มขยับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยคาดว่าเม็ดเงินสื่อโฆษณาปีนี้จะเติบโตได้ถึง 7.4% คิดเป็นมูลค่ารวมที่ 81,813 ล้านบาท
เมื่อสัญญาณของเศรษฐกิจไทยในหลายอุตสาหกรรมมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น จากสถานการณ์การระบาดใหญ่ทั่วโลกของ COVID-19 ที่ค่อยๆลดระดับความรุนแรงและผลกระทบลง ถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ถึงเวลาที่ธุรกิจจะกลับมาแข่งขันกันอีกครั้ง ขณะเดียวกันสถานการณ์ของโลกธุรกิจในปัจจุบันเต็มไปด้วยการ Disruption ในหลากหลายมิติ และส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสื่อของคนไทยเปลี่ยนแปลงและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะวิกฤต COVID-19 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจอย่างมากมาย จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ธุรกิจต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น
A Trusted Advisor เป็นมากกว่า Solution Providers
เมื่อสัญญาณของเศรษฐกิจไทยในหลายอุตสาหกรรมมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น จากสถานการณ์การระบาดใหญ่ทั่วโลกของ COVID-19 ที่ค่อยๆลดระดับความรุนแรงและผลกระทบลง ถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ถึงเวลาที่ธุรกิจจะกลับมาแข่งขันกันอีกครั้ง ขณะเดียวกันสถานการณ์ของโลกธุรกิจในปัจจุบันเต็มไปด้วยการ Disruption ในหลากหลายมิติ และส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสื่อของคนไทยเปลี่ยนแปลงและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะวิกฤต COVID-19 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจอย่างมากมาย จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ธุรกิจต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น
A Trusted Advisor เป็นมากกว่า Solution Providers
MI GROUP ในฐานะมีเดียเอเยนซีและที่ปรึกษาด้านการตลาดและสื่อสารการตลาด ได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งในมุมของความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป และในมุมของการพัฒนาองค์กร เสริมสร้างทักษะของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์การทำงานร่วมกับลูกค้าได้แบบ Total Business Solution มีการวางแผนกลยุทธ์การตลาดและสื่อสารการตลาดในภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป เน้นให้นักการตลาดและสื่อสารการตลาดสามารถสร้างคอนเทนท์ที่น่าสนใจออกมาได้ รวมถึงการเลือกช่องทางการสื่อสารที่สามารถพิชิตใจผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กระบวนการทำงานที่เริ่มต้นจากการสร้างความเข้าใจ LIFELINE (Demo, Attitude & Psycho, Lifestyle & Behavior) ของกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้งจากฐานข้อมูลต่างๆ เพื่อประสิทธิภาพการสื่อสารที่สูงที่สุด “ถูกคน-ถูกใจ-ถูกที่-ถูกเวลา”
สำหรับความเคลื่อนไหวในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2565 MI GROUP ได้ประกาศวิสัยทัศน์เชิงรุกมุ่งสู่ A Trusted Advisor เป็นเพื่อนคู่คิดและเป็นที่ปรึกษาที่คุณไว้ใจ ด้วยจุดแข็งในการเป็น Solution Providers ให้กับลูกค้า ที่พร้อมจะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาด้วยข้อมูลและเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดใหม่ๆ จาก MI Learn Lab ที่จะทำหน้าที่สร้าง Marketing Tool ใหม่ๆ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ และส่งมอบข้อมูลเชิงลึกของตลาด ผู้บริโภค และภูมิทัศน์สื่อใหม่ให้กับลูกค้า โดยเน้นการทำงานอย่างใกล้ชิดในแบบ Partnership For Growth และมีส่วนร่วมในการสร้างยอดขายท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดในยุคปัจจุบัน
นายภวัต เรืองเดชวรชัย, PRESIDENT & CEO, MI GROUP กล่าวว่า ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา MI GROUP เริ่มมีการปรับเปลี่ยนบทบาทตัวเองไปสู่จุดยืนใหม่ จากจุดแข็งเดิมที่เป็น Massive Scale Media Agency ที่มีจุดแข็งในเรื่องของทักษะการวางแผนกลยุทธ์สื่อออฟไลน์และออนไลน์ และราคาสื่อที่ดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด เพื่อตอบโจทย์จิ๊กซอว์ของนักการตลาดและสื่อสารการตลาดได้อย่างตรงจุด
“ปัจจุบัน Positioning ของ MI GROUP คือการเป็น Solution Providers ให้กับลูกค้า ไม่ใช่แค่ในมุมของการวางแผนกลยุทธ์สื่อและราคาสื่อ แต่เรายังเป็น Trusted Advisor ให้กับลูกค้าในมุมที่รอบด้านมากขึ้น เช่น การสื่อสารทางการตลาดในรูปแบบที่สอดคล้องกับภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไปอย่างมาก (Changing Media Landscape) เช่น การทำ Branded Content, การทำ Affiliate Marketing กับ KOLs (Key Opinion Leaders หรือ Influencers), การเริ่มต้นจากการนับ1 ร่วมกันในการออกแบบ และการผลิต Contents ที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายและลูกค้า (Advertisers) เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดกับทุกฝ่าย (Content Development & Content Ownership), การช่วยหาข้อมูลในตลาดใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งในด้านการตลาด สื่อสารการตลาด และการกระจายสินค้า ( New Distribution Channel) เป็นต้น”
ที่ผ่านมา MI GROUP มองเห็นเทรนด์ของผู้ประกอบการแบรนด์ไทยที่ให้ความสำคัญกับการขยายตลาด และสื่อสารการตลาดไปยังตลาดในต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในแถบ CLMV จึงเป็นเหตุผลให้ทาง MI GROUP เน้นการขยายตลาดต่างประเทศไปสู่กลุ่มประเทศ CLMV มาตั้งแต่ปี 2557 จากความต้องการในการขยายตลาดของลูกค้าไทยขนาดกลางและขนาดใหญ่ (Thai Entrepreneurs)
“ในช่วงแรกเราโฟกัสโดยการไปเปิดสำนักงานของ MI GROUP ในกลุ่มประเทศ CLMV คือ กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม และเมียนมาร์ โดยขยายตลาดร่วมกับพาร์ทเนอร์ในประเทศนั้นๆ ซึ่งเมียนมาร์ถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพ ส่งผลให้สำนักงานต่างประเทศที่เราเปิดดำเนินกิจการที่ย่างกุ้งสามารถสร้างรายได้ที่ดีที่สุดให้กับเราในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนมาหยุดชะงักในช่วงปี 2020-2021 ที่เกิดวิกฤต Covid-19 และรัฐประหารในเมียนมาร์ แต่เริ่มเห็นมีสัญญาณบวกและการฟื้นตัวมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2022 ที่ผ่านมา และเรามองเห็นความเคลื่อนไหวของลูกค้าไทยหลายราย เริ่มมีความต้องการที่จะกลับไปทำการตลาดและสื่อสารการตลาดในต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศในแถบเซาท์อีสตเอเชียและมิดเดิลอีสต์ ซึ่ง MI GROUP ได้ทำหน้าที่เป็น Trusted Advisors ให้กับลูกค้าไทยกลุ่มนี้มาตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมา และเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ ตามสถานการณ์ตลาดที่กำลังคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นตามลำดับ”
MI Bridge สร้างโอกาสแบบ New S-Curve
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการรุกตลาดที่ MI GROUP ให้ความสำคัญกับการขยายตลาดต่างประเทศมากยิ่งขึ้น MI GROUP จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อหน่วยงานจาก Media Intelligence CLMV เป็น MI Bridge ควบคู่ไปกับการกำหนดนโยบายการทำตลาดต่างประเทศในเชิงรุก มุ่งตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแบรนด์ไทยให้มากยิ่งขึ้นด้วย
นายวิชิต คุณคงคาพันธ์ Head of International Business Development, MI GROUP กล่าวถึง เป้าหมายของการก่อตั้ง MI Bridge ขึ้นมา เป้าหมายแรก เพื่อขยายการบริการให้ครอบคลุมสำหรับ Thai Brands ในตลาดต่างประเทศ และเป้าหมายต่อไป คือการเสริมความแข็งแกร่งของ MI Bridge ในแต่ละประเทศ เพื่อขยายกลุ่มลูกค้าเป้าหมายไปยัง International Brands หรือแม้แต่ Local Brands ของประเทศนั้นๆ โดยต้องเสริมจุดแข็งเพื่อแข่งกับ Local Media Agencies ดังนั้นเป้าหมายต่อไปอาจเป็นการก่อตั้ง MI Vietnam, MI Cambodia เหมือนที่ได้ก่อตั้ง MI Myanmar มาแล้ว และที่ผ่านมา MI Myanmar ก็แข็งแกร่งพอที่จะรองรับความต้องการของ Thai Brands, International Brands และ Local Brands ในจำนวนมากได้
“สิ่งที่ถือเป็นเรื่องท้าทายมากที่สุด คือความแตกต่างทางวัฒนธรรมเพราะ Media Agency เป็นธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยมนุษย์ สินค้าของเราคือคำแนะนำ คำปรึกษา แผนงาน และการดำเนินการที่มาจากความคิดของทีมงานที่แตกต่างกันทางวัฒนธรรม ค่านิยม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหน้าที่ของเรา คือต้องคิด ต้องคาดการณ์ล่วงหน้าถึงอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างทีมงานที่มีทั้งคนไทยและคนท้องถิ่น เพื่อให้ Operation หรือ Co-ordination ราบรื่นที่สุด และได้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพสูงสุด”
นายวิชิต กล่าวย้ำว่า “แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนชื่อเป็น MI Bridge แต่ในแง่ของ Brand Positioning ของ MI Bridge ยังคงเหมือนเดิมคือความเป็น Trusted Advisor เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของเรา ภายใต้คอนเซ็ปต์ The Trusted Partner Delivering World-Class Services with True Local Insights ประกอบด้วย (1) มาตรฐานการทำงานของแต่ละประเทศแตกต่างกัน จึงเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องยกระดับการทำงานให้ได้เท่าที่ลูกค้าคาดหวัง หรือคุ้นชิน (2) ด้วยความแตกต่างของทุกๆ บริบทในแต่ละประเทศ จึงเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องทำความเข้าใจในบริบทของความต่าง และเข้าถึงแก่นพฤติกรรมผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เราจึงได้รับความไว้วางใจให้เป็นพาร์ทเนอร์ที่ได้รับความเชื่อถือจากลูกค้าของเรา”
สำหรับกลยุทธ์สำคัญที่จะทำให้ MI Bridge สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะแบรนด์ไทยในระดับ Big Company มีอยู่ด้วยกัน 2 แนวทาง คือ 1) การเข้าร่วมสมาคมนักธุรกิจไทยในประเทศต่างๆ เพื่อเข้าไปแนะนำตัว พร้อมนำเสนอแนวคิดในเชิงสังสรรค์ การแชร์ความรู้ และข้อมูลทางธุรกิจต่างๆ เพื่อต่อยอดกันไปมา และ 2) สร้างผลงาน สร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการบอกต่อ (Word of Mouth) กันโดยอัตโนมัติ
“ตัวอย่างของกลุ่มลูกค้าที่ถือเป็น Success Story ของ MI GROUP คือการทำงานร่วมกับ The Mall Group เป็นงานที่ท้าทายและสนุกมาก เพราะหลังจากมาตรการโควิดเริ่มผ่อนคลาย นักท่องเที่ยวเริ่มกลับเข้ามาในประเทศไทย เราต้องทำให้แน่ใจว่านักท่องเที่ยวเหล่านั้นจะมาช็อปปิ้งที่ห้างของเรา เราจึงต้องสื่อสารกับเขาตั้งแต่ประเทศต้นทาง ซึ่งทาร์เก็ตของเรามีหลายประเทศมาก และแต่ละประเทศก็มีการ Consume Media ที่แตกต่างกัน เช่น ประเทศแถบตะวันอออกกลางค่อนข้างชอบ Content แบบมีเนื้อข่าว
ดังนั้นเราจึงต้องไปด้วยการทำ Advertorial หรือประเทศเพื่อนบ้านของเราจะเชื่อถือในตัวนักแสดง ดังนั้นการใช้ KOL จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด และยังต้องดูว่า เราจะทำ PR Pitching ด้วยเนื้อหามุมไหนถึงจะเข้าตานักข่าวในแต่ละประเทศที่มีมุมมองต่อประเทศไทยแตกต่างกัน ซึ่งการทำงานในหนึ่งวันที่ตอนเช้าต้องประชุมออนไลน์กับทีมพม่า ช่วงบ่ายกับทีมสิงคโปร์ และเย็นกับทีมดูไบ ทำให้เราต้องใช้ทักษะในการปรับตัว และต้องมี Mindset ที่ Open Mind อยู่พอสมควร”
และอีกลูกค้าอย่าง Bangkok Airways ที่มีเส้นทางการบินหลายประเทศ ทั้งในและนอกภูมิภาค MI Bridge เข้ามาลด pain-point ที่เมื่อก่อนมีความลำบากที่ต้องใช้ local partners ในแต่ละประเทศ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ MI Bridge สามารถเป็น one stop service ให้ได้ และยังยกระดับการทำงานให้เทียบเท่าระดับสากลที่มาจากความเข้าใจในตลาดท้องถิ่นอย่างแท้จริง
สำหรับสัดส่วนรายได้ของ MI Bridge ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 5% ของรายได้ทั้งหมด ถือว่าเป็นเพียงจุดเริ่มต้น โดยปีหน้า 2023 ทาง MI GROUP คาดว่า สัดส่วนรายได้จาก MI Bridge จะเพิ่มขึ้นเป็น 10% ของรายได้ทั้งหมด และ MI Bridge จะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ลูกค้าไทยสามารถสร้างการเติบโตทางธุรกิจในตลาดต่างประเทศได้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นความท้าทายสำหรับ MI Bridge เป็นอย่างมาก
“โดยแผนการขยายธุรกิจในประเทศไทยของ MI GROUP ทั้งในรูปแบบเดิม และรูปแบบใหม่ๆ จะยังดำเนินต่อไปในแนวทางของการสร้าง New S-Curve ซึ่ง MI GROUP ยังคาดหวังว่า MI Bridge จะเป็นหน่วยงานที่เพิ่มความแข็งแกร่ง และสร้างความยั่งยืนให้กับ MI GROUP ในระยะยาว เพราะเป็นหน่วยงานที่เข้าไปทำงานโดยตรงกับลูกค้าไทยในการขยายตลาดให้กับลูกค้าในต่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นความยั่งยืนในมุมของธุรกิจลูกค้าเช่นเดียวกัน” นายวิชิต กล่าว
MI Learn Lab ตอบโจทย์เรื่อง Marketing Insights
สำหรับการทำธุรกิจในยุคดิจิทัลจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลที่รวดเร็วจากหลายแหล่ง ทำให้หลายๆ ครั้งเจ้าของแบรนด์ หรือนักการตลาดไม่สามารถวัดผล หรือเปรียบเทียบข้อมูลได้อย่างสมเหตุสมผล ในฐานะที่ MI GROUP เป็นเอเยนซีที่ให้คำปรึกษาและช่วยวางกลยุทธ์การตลาด และการสื่อสารทางการตลาดด้วยประสบการณ์ในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน MI Group จึงมีแนวคิดในการเป็นตัวแทนแหล่งข้อมูลที่พร้อมส่งมอบข้อมูลสำคัญทางการตลาดให้กับพันธมิตรของ MI Group ด้วยชุดข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์เจาะลึกด้วยมุมมอง ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญของ MI GROUP ภายใต้รูปแบบการทำงานของโครงการ MI Learn Lab
นายภวัต กล่าวเสริมว่า MI Learn Lab เป็นหน่วยงานใหม่ที่ MI GROUP จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการนำเสนอข้อมูลที่ได้จาก Marketing Tool ใหม่ๆ และช่วยส่งมอบข้อมูลในเชิง Marketing Insights ที่เป็นประโยชน์ให้กับพันธมิตรต่างๆ ของ MI GROUP โดยเฉพาะลูกค้า คู่ค้า และสำนักข่าว/สื่อต่างๆ นอกจากนี้ MI Learn Lab ยังมองไปถึงการเป็นแหล่งความรู้ให้กับผู้ประกอบการรายย่อยอย่าง SMEs ผ่านการจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อเป็นช่องทางในการนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ๆ สำหรับ SMEs โดยเฉพาะอีกด้วย
ภายใต้กรอบการทำงานของ MI Learn Lab จะมีทั้งชุดข้อมูลที่ปรับปรุงทุกเดือน เช่น มูลค่าเม็ดเงินโฆษณาของตลาดประเทศไทย และมีข้อมูลที่เป็น Market Insights ต่างๆ ที่ผ่านการศึกษาข้อมูลแบบเจาะลึกเป็นพิเศษ โดยแต่ละหัวข้อจะเน้นการทำข้อมูลเชิงลึกที่ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน
“ความต้องการของลูกค้าไทยเมื่ออยู่ในสนามการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ มีความคล้ายคลึงกับการทำตลาดในเมืองไทย ซึ่งลูกค้าจะมองหาใน 3 เรื่องสำคัญ คือ 1) ROAS (Return on Ad Spend) ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของ Awareness หรือ Sales หรืออะไรก็ตาม ที่เป็นไปตามโจทย์ของลูกค้า ต้องมาจาก 2) Market Insight ที่ละเอียดและแม่นยำ ไม่ว่าจะจาก Competitors หรือ Customers ตรงนี้เป็นหน้าที่ของ MI Bridge ที่ต้องมีให้กับลูกค้าเพื่อใช้วางแผนกลยุทธ์ แต่การทำธุรกิจในต่างประเทศ สิ่งที่นักธุรกิจมองหาและหาค่อนข้างหายาก คือ 3) Trust ด้วยเพราะมีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม ต่างความคิด มีดีมีร้าย โดย MI Bridge มีทีมงานคนไทย จึงต้องหาทางออกให้กับลูกค้าหลายๆ แบรนด์ ซึ่งแบรนด์ไทยเมื่อออกไปทำตลาดต่างประเทศ จะค่อนข้างได้เปรียบ เพราะความเป็นประเทศไทย เป็นคนไทย วัฒนธรรมไทย สินค้าไทย สื่อบันเทิงไทย ทุกอย่างที่เป็นของไทยมักได้รับการชื่นชม และตอบรับเป็นอย่างดีจากรปะเทศเพื่อนบ้าน และในหลากหลายประเทศ” นายภวัต กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผลการดำเนินงานในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา MI GROUP มีการเติบโตทางด้านรายได้ที่เพิ่มขึ้นประมาณ 15-20% เมื่อเทียบกับปี 2564 ในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นผลจากความสามารถในการปรับตัวอย่างรวดเร็วของ MI GROUP ต่อสถานการณ์ตลาดที่เปลี่ยนแปลงและผันผวนอยู่ตลอดเวลา โดยมุ่งเน้นการสร้างแหล่งรายได้ใหม่ๆ ที่เป็น New S-Curve เช่น Content Ownership Business, International Business Expansion ให้กับลูกค้าขนาดกลางและขนาดใหญ่ของไทย ควบคู่การพัฒนาทักษะของพนักงานอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะในช่วงปี 2020-2021 ที่มีการแพร่ระบาดของ Covid-19 จนส่งผลให้ตลาดมีการชะลอตัวเป็นอย่างมาก เช่น การเพิ่มทักษะ Digital Marketing Communication ให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้อง คือ Communication Strategist และ Digital Traders เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการทำตลาดในปัจจุบัน ที่เน้นไปในด้าน ROAS (Return on Ad Spend) หรือที่เรียกว่า Performance Media ให้มากยิ่งขึ้น
นายภวัต ยังมองว่า แม้ว่าผลการดำเนินงานจะมีการเติบโตทางด้านรายได้ 15 – 20% แต่ยังถือว่าต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์กันไว้เมื่อช่วงต้นปี 2565 (หลังการได้รับวัคซีนของคนไทย และการทยอยเปิดประเทศในช่วงกลางปีที่ผ่านมา) เป็นผลมาจากปัจจัยลบต่างๆ ที่ทยอยเกิดขึ้นตลอดในช่วงไตรมาส 1 จนถึงไตรมาส 3 ของปีนี้ เช่น การระบาดระลอกใหม่ของ Covid-19 สายพันธุ์ Omicron ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่นำไปสู่ต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ไปจนถึงอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังซบเซา เป็นต้น
สำหรับความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาตั้งแต่เดือนมกราคม – กันยายน 2565 (อ้างอิงข้อมูลจาก
Nielsen และ DAAT) มีตัวเลขการใช้สื่อโฆษณาคิดเป็นมูลค่ารวม 60,739 ล้านบาท เติบโตขึ้น 7.86% เมื่อเทียบกับปี 2564 ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยแบ่งเป็นสื่อ TV 24,864 ล้านบาท, Internet 19,816 ล้านบาท, Out of Home 7,593 ล้านบาท และสื่ออื่นๆ รวม 5,466 ล้านบาท (Cinema, Magazines, Newspapers และ Radio)
“มูลค่ารวมการใช้สื่อจนถึงสิ้นปี 2565 คาดว่าจะจบปีที่ 81,813 ล้านบาท เติบโต 7.4% เมื่อเทียบกับปี 2565 แบ่งเป็นสื่อ TV 37,598 ล้านบาท, Internet 26,623 ล้านบาท, Out of Home 10,105 ล้านบาท, Radio 2,656 ล้านบาท, Cinema 2,462 ล้านบาท และอื่นๆ รวม 2,369 ล้านบาท (Newspapers และ Magazines) ส่วนในปี 2566 มีการประมาณการไว้ว่า มูลค่าการใช้สื่อจะเพิ่มขึ้นเป็น 85,220 เติบโตเพิ่มขึ้น 4.2% แบ่งเป็นสื่อ TV 44.6%, Internet 33.2% และ Out of Home 13.5% และสื่ออื่นๆ รวม 8.7%” นายภวัต กล่าวในที่สุด
No comments:
Post a Comment