“อุดมคติ” จุดกำเนิด “เบียร์ในฝัน” กับพื้นที่ของนักสร้างสรรค์แบบฉบับเฉพาะตัว - ASEAN All News

ASEAN All News

ข่าวสารอัพเดท ทันทุกเทรนด์โลก รอบรั้วอาเซียน

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Wednesday, September 20, 2023

“อุดมคติ” จุดกำเนิด “เบียร์ในฝัน” กับพื้นที่ของนักสร้างสรรค์แบบฉบับเฉพาะตัว




เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกวัฒนธรรมในโลก และ “เบียร์” ก็เป็นหนึ่งในประเภทเครื่องดื่ม ที่ได้รับความนิยมรวมถึงประเทศไทย โดย “คนไทย” เคยได้รับการจัดอันดับจาก เว็บไซต์ Expansivity ที่ได้ทำการวิจัยข้อมูลการบริโภคเบียร์จากทั่วโลกและเผยข้อมูลดัชนีเบียร์โลก ประจำปี 2021 หรือ World Beer Index 2021 ว่าเป็นอันดับ 1 ที่ดื่มเบียร์ต่อปีมากสุดในเอเชีย เฉลี่ยคนละ 142 ขวดต่อปี หรือประมาณ 46,860 มล./คน เลยทีเดียว


จากรายงานของ “ศูนย์วิจัยกรุงศรี” ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบ้านเรามีมูลค่าอยู่ที่ 4.73 แสนล้านบาท หรือเกือบ 5 แสนล้านบาท และเฉพาะเซกเมนต์เบียร์มีมูลค่าอยู่ที่ 54.3% และมีแนวโน้มการบริโภคเติบโตเฉลี่ย 3-4% โดยคนไทยชอบดื่มเบียร์เพราะได้เข้าสังคม ชื่นชอบการสังสรรค์ และเบียร์มีรสชาติที่อร่อยถูกปาก



 นี่คือที่มาของ “อุดมคติ บริววิ่ง อะคาเดมี่ (Udomkati Brewing Academy)” โรงเรียนสอนต้มเบียร์ระบบเปิดที่ถูกกฎหมายแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นธุรกิจในเครือของผู้บริหารมากความสามารถระดับแถวหน้าของประเทศไทยอย่าง “คุณจี๊บ เทพอาจ กวินอนันต์” ที่มุ่งมั่นตั้งใจอยากให้บ้านเรามีพื้นที่ในการสนับสนุนนักคิดนักสร้างสรรค์ที่ฝันจะมี “เบียร์ในอุดมคติ” เป็นของตนเอง เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้ให้เติบโตได้อย่างถูกต้อง มีระบบ ได้มาตรฐานสากล


อุดมคติ บริววิ่ง อะคาเดมี่ (Udomkati Brewing Academy) มีคลาสและหลักสูตรที่หลากหลายสำหรับผู้ที่มีความสนใจอยากเรียนรู้วิชาคราฟต์เบียร์ ตั้งแต่คลาส “Beginner” เพื่อให้ “คนรักเบียร์” ได้ทำความรู้จักกับความหลากหลายของเบียร์ โดยเปิดสอนในหลักสูตรออนไลน์และออฟไลน์ มี Instructor ประกบอย่างใกล้ชิด



เจาะหลักสูตรที่น่าสนใจ เช่น “Nice to meet brew” ซึ่งเป็นคลาสสำหรับ Craft Beer Lover จะทำให้ผู้เรียนได้รู้ที่มาว่า กว่าจะเกิดเป็น “คราฟต์เบียร์” นั้นมีขั้นตอนอะไรบ้าง และมีที่มาที่ไปอย่างไร รวมถึงได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบในการทำเบียร์ พร้อมได้ลองออกแบบรสชาติเบียร์ในอุดมคติของตัวเอง ก่อนจะขยับมาที่หลักสูตร Solo Pilot Batch ที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้และเข้าใจขั้นตอนต่าง ๆ ในการทำเบียร์แต่ละสไตล์แบบเจาะลึก พร้อมลงมือทำจริงด้วยตนเองในหม้อขนาด 60 ลิตร ซึ่งเป็น Process ที่ย่อมาจากระดับโรงงาน


นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรเรียนทำเบียร์เชิงลึก ระดับ Advanced เพื่อเตรียมตัวไปต่อให้สุดถึงระดับ World Class กับหลักสูตร VLB Craft Brewing Virtual Course หลักสูตรเรียนทำเบียร์เชิงลึก เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างอุดมคติ บริววิ่ง อะคาเดมี่ กับ VLB Berlin สถาบันสอนทำคราฟต์เบียร์ระดับโลก ที่สอน online สดโดยเหล่าผู้เชี่ยวชาญการ Brew ส่งตรงมาจากประเทศเยอรมัน ซึ่งที่ผ่านมามีผู้สนใจเข้าเรียนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา, นักวิจัย, Brewer, เจ้าของแบรนด์ และผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร และโรงงาน เพื่อนำองค์ความรู้ไปต่อยอดการออกแบบประสบการณ์ในการดื่มให้กับชาวคราฟต์เบียร์


“คุณจี๊บ” เผยว่า “เป้าหมายของ “อุดมคติ บริววิ่ง อะคาเดมี่ (Udomkati Brewing Academy)” อยากให้ทุกคนได้เริ่มต้นการทำเบียร์อย่างถูกต้อง ทำอย่างเป็นระบบ เป็นการเรียนรู้แบบ “มือเปื้อน” ลงไปสัมผัสจริง เรียนรู้และเข้าใจในภาพรวมของการทำเบียร์อย่างครบวงจร เพื่อจะทำให้วงล้อของอุตสาหกรรม “คราฟต์เบียร์” ให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต ทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน รวมถึงเป็นการกระจายรายได้ กระจายอาชีพ ให้กับแหล่งชุมชน”


“คุณจี๊บ” ยังบอกอีกว่า “โรงเรียนสอนต้มเบียร์” แห่งนี้ ได้มุ่งพัฒนาสร้างสรรค์หลักสูตร เพื่อจะสามารถช่วยให้เกิดวัฒนธรรมการดื่มที่มีคุณค่าในหลากหลายมิติ และต้องการให้เรียนรู้การออกแบบ “คราฟต์เบียร์” ใน “อุดมคติ” เป็น “เบียร์ในฝัน” ที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวแรงบันดาลใจ และการเลือกสรรวัตถุดิบให้ออกมาเป็นรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ในแบบฉบับเฉพาะตัว เนื่องจากคอเบียร์ทุกคนล้วนมีเส้นทางที่แตกต่างกันเป็นปัจเจกบุคคล จึงเกิดเป็นเสน่ห์ในแต่ละแบบฉบับของ “คราฟต์เบียร์” จนนำมาสู่การสร้างอะคาเดมี่แห่งนี้

แม้จากข้อจำกัดหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นในไทย ทำให้วัฒนธรรมการทำเบียร์ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก แต่วันนี้ “อุดมคติ” ได้ทำให้ภาพของ “คราฟต์เบียร์” เปลี่ยนไป ไม่ได้ถูกมองเป็นแค่เครื่องดื่มมึนเมา แต่เป็นวัฒนธรรมทางสังคม ที่สะท้อนจุดเด่นในแต่ละพื้นที่ได้เป็นอย่างดี หากได้รับการสนับสนุนรวมถึงกฏหมายที่เปิดกว้าง ไม่แน่ว่าในอนาคต “คราฟต์เบียร์ไทย” อาจมีโอกาสไปยืนแถวหน้าในระดับสากลได้อย่างภาคภูมิใจก็เป็นได้

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages