โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์มีความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะโรคมะเร็ง โดยไม่เพียงแต่ที่จะวินิจฉัย และให้การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ (Effectiveness) อย่างแม่นยำ (Precision medicine) และอย่างเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย แต่เรายังมุ่งมั่นที่จะหาวิธีการคัดกรองทางพันธุกรรมผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง (Advance genomic testing for cancer screening) การจัดการกับความเสี่ยง เพื่อป้องกัน และ/หรือการลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง (Cancer risk reduction) ที่อาจจะเกิดขึ้น และการดูแลแบบประคับประคองแบบทุกมิติ (Comprehensive Palliative care) ในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายและครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด ด้วยวิวัฒนาการด้านการแพทย์ ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา และสหสาขาวิชาชีพ
ภญ.ดร. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ปัญหาโรคมะเร็งส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาวะความเจ็บป่วย และคุณภาพชีวิตของประชากรทั้งในระดับประเทศและระดับโลก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ในฐานะโรงพยาบาลเอกชนที่ให้การรักษาในระดับจตุตถภูมิ (Quaternary Care) พร้อมที่จะผลักดันและยกระดับการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง และการคัดกรอง จัดการความเสี่ยง และการป้องกันโรคมะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ เรามีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคยากและโรคซับซ้อนได้อย่างครอบคลุม รวมถึงโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคที่จำเป็นต้องมีทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary team) ที่มีประสบการณ์ และมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาในทุกๆมิติให้ดียิ่งขึ้น โดยศูนย์มะเร็งฮอไรซัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลไทยโรงพยาบาลเดียวที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็น Best Specialized Hospitals APAC 2023 ด้าน oncology เป็นอีกทางเลือกและเป็นความหวังของผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัวที่จะได้รับการบริบาลทางสุขภาพเฉพาะโรคมะเร็ง
นพ. ณรงค์ศักดิ์ เกียรติขจรธาดา หัวหน้าศูนย์มะเร็งฮอไรซันบำรุงราษฎร์, แพทย์ชำนาญการด้านมะเร็งวิทยา และโลหิตวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ศูนย์มะเร็งฮอไรซันบำรุงราษฎร์ มีเป้าหมายในการให้การบริบาลรักษาโรคมะเร็งอย่างครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่การดูแลเชิงป้องกัน การวินิจฉัยและการรักษาโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าติดตามป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ โดยให้การดูแลรักษาที่ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มุ่งเน้นการดูแลแบบเฉพาะบุคคล เพื่อรักษาโรคและอาการที่ซับซ้อน ที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีแพทย์ทั้งหมด รวม 1,400 คน เป็นแพทย์ประจำ เกือบ 400 คน มีแพทย์หลากหลายสหสาขาและแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็ง ครบทุก Sub Specialty ซึ่งทำให้เราสามารถจัดทีมแพทย์ที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแต่ละรายได้ การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้น ทุกจุดทุกขั้นตอนมีความสำคัญ เราต้องป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในจุดต่างๆ ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ตลอดจนการเฝ้าติดตามผลการรักษา ซึ่งการที่เรามีทีมแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน ทำให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุดและนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีได้
นพ. รุจาพงศ์ สุขบท รองประธานอาวุโสปฏิบัติการด้านการแพทย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน เป็นอีกหนึ่งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ (Center of Excellence) ของบำรุงราษฎร์ ที่เราจะยกระดับการรักษาให้เป็นสถาบัน (Institute) ในปี 2567 นี้ โดยศูนย์มะเร็งฮอไรซัน ได้ให้การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งกว่า 12,500 คนต่อปี และมีผู้ป่วยใหม่กว่า 1,000 คนต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่พิสูจน์ให้เห็นถึงความพร้อมและศักยภาพของทีมแพทย์
ทั้งนี้ สิ่งที่ทำให้การดูแลรักษาโรคมะเร็งที่ศูนย์มะเร็งฮอไรซันบำรุงราษฎร์แตกต่างจากที่อื่น คือ
1. การดูแลรักษาด้วยประสบการณ์เฉพาะทางด้านโรคมะเร็งมากว่า 40 ปี
2. การดูแลครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่ป้องกัน วินิจฉัย และรักษาในทุก stage ของโรคมะเร็ง และออกแบบการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
3. การดูแลรักษาโรคมะเร็งแบบสหสาขาวิชาชีพ มีการประชุม Multidisciplinary Tumor Board และ Comprehensive Palliative Care
4. การประยุกต์และผสมผสานปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีก้าวหน้า เช่น NGS มาร่วมในการวินิจฉัย และออกแบบการรักษาภาวะมะเร็งอย่างสมบูรณ์แบบ ให้มีความถูกต้องและแม่นยำ ได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดี
5. ความมุ่งมั่นที่จะไปสู่การคัดกรอง การวินิจฉัย และการรักษาที่แม่นยำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ของการดูแลโรคมะเร็ง ด้วยการบูรณาการวิวัฒนาการทางการแพทย์พันธุศาสตร์
นพ. ธนาวัฒน์ จิรกุลาภรณ์ แพทย์ชำนาญการด้านมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีการประชุม Multidisciplinary Tumor board หรือการประชุมของทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพเฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง เช่น อายุรแพทย์ด้านโรคมะเร็ง ศัลยแพทย์ด้านโรคมะเร็ง พยาธิแพทย์ รังสีแพทย์ผู้ชำนาญด้านโรคมะเร็ง เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการและเภสัชกร เพื่อหาวิธีการรักษาร่วมกัน โดยมีทีมผู้ชำนาญการทางด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถแปลผลการตรวจได้อย่างแม่นยำ เช่น แพทย์เฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์และนักพันธุศาสตร์, พยาธิแพทย์ผู้มีความชำนาญชั้นสูงด้านการตรวจชิ้นเนื้ออย่างละเอียดเพื่อวินิจฉัยเซลล์มะเร็งอย่างแม่นยำ, ทีมสหสาขาวิชาชีพเฉพาะทางทุกสาขาที่เกี่ยวข้องในการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพและร่วมจัดโปรแกรมการตรวจที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล นอกจากนี้ ยังมีการทบทวนและศึกษาแนวทางการรักษาใหม่ๆ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้จากระดับนานาชาติ (update guideline) ให้กับบุคลากรของศูนย์อย่างสม่ำเสมอ
นพ. หฤษฎ์ สุวรรณรัศมี แพทย์ชำนาญการด้านมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อธิบายว่า การรักษามะเร็งในอดีต เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็ง จึงเริ่มทำการรักษาตามระยะอาการของโรค ซึ่งมักเป็นการรักษาด้วยวิธีฉายแสง เคมีบำบัด และการผ่าตัด ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ ทั้งยังให้ผลข้างเคียงจากการรักษาค่อนข้างมาก เพราะเป็นการรักษาที่ทำให้เซลล์ปกติต้องถูกทำลายไปพร้อมกันกับเซลล์มะเร็ง แต่ปัจจุบัน มีการตรวจรักษามะเร็งแบบ Precision approach ซึ่งเป็นวิธีตรวจความผิดปกติระดับชีวโมเลกุล เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีรักษามะเร็งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยในทุกระยะ โดยแพทย์จะทำการตรวจชิ้นเนื้อปัจจุบันของผู้ป่วย ก่อนจะนำมาวิเคราะห์หาความผิดปกติในระดับชีวโมเลกุล และเลือกใช้ยารักษาที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยแบบเฉพาะบุคคล ทำให้ผลข้างเคียงจากการรักษาลดลง ต่างจากการรักษามะเร็งด้วยวิธีเคมีบำบัด ทั้งยังเป็นการตรวจมะเร็งที่สะดวก ไม่ใช้เวลานานมาก เมื่อผู้ป่วยได้รับการตรวจมะเร็งแบบ Precision Cancer Medicine เพื่อหาความผิดปกติที่จำเพาะกับมะเร็ง จะช่วยให้แพทย์เลือกยาที่ช่วยหลีกเลี่ยงการเกิดผลข้างเคียงจากการรักษาได้มากขึ้น ลดระยะเวลาการฟื้นตัวของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นพ. อภิชาต พานิชชีวลักษณ์ แพทย์ชำนาญการด้านรังสีรักษา และมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อธิบายว่ารังสีรักษาเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาโรคมะเร็ง โดยใช้รังสีพลังงานสูงฉายไปตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น โดยเรามุ่งหวังให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรค หรือ ลดอาการหรือความทรมาน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้ เป้าหมายของการใช้รังสีรักษา คือ การรักษาที่แม่นยำ ถูกต้อง, ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงน้อยที่สุด หรือไม่มีผลข้างเคียง และ ลดระยะเวลาในการเข้ารับการรักษาด้วยรังสี เช่น การฉายรังสีโรคมะเร็งเต้านมในปัจจุบันใช้เวลาสั้นมากขึ้นจากเดิม 6 สัปดาห์เหลือเพียงแค่ 4 สัปดาห์ และในแต่ละครั้งของการใช้รังสีใช้เวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้น ในขณะที่การฉายรังสีในมะเร็งต่อมลูกหมาก ลดเวลาการรักษา จาก 8 สัปดาห์ เหลือ 3 สัปดาห์ เป็นต้น
นพ. บวร วีระสืบพงศ์ แพทย์ชำนาญการด้านมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดเผยว่า ศูนย์มะเร็งฮอไรซันมีผลลัพธ์การรักษาที่ดีมาก เรามีอัตราการรอดชีวิตสูงเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานในสหรัฐอเมริกา ยกตัวอย่าง ผลลัพธ์การรักษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 450 คน จากสถิติในปี 2564-2565 พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ระยะ 1-3 มีอัตราการรอดชีวิตใน 1 ปี หลังได้รับการรักษา ถึง 100% ในขณะที่เกณฑ์มาตรฐานในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 99%, 97% และ 94% (ตามลำดับระยะ 1-3) ในขณะที่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ระยะที่ 4 มีอัตราการรอดชีวิตใน 1 ปี สูงถึง 90% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 61%
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของยารักษามะเร็งที่ให้ในกลุ่มของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีข้อบ่งชี้ในการให้ยาก่อนการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้า หรือภูมิคุ้มกันบำบัด จากนั้นเอาชิ้นเนื้อจากการผ่าตัดไปตรวจหาเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่ พบว่าอัตราที่เซลล์มะเร็งจะถูกทำลายไปหมดจากการให้ยาก่อนผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่รักษาที่ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน มีค่าเฉลี่ยที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาลที่สหรัฐอเมริกา ในทุกประเภทของมะเร็งเต้านม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน มีการเลือกใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูง และเหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งผลลัพธ์เหล่านี้ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญของทีมแพทย์ในการวางแผนการรักษาอย่างละเอียดและแม่นยำ
พญ. สุธิดา สุวรรณเวโช แพทย์ชำนาญการด้านมะเร็งวิทยา และ Palliative Care โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า การดูแลแบบประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย (Palliative Cancer Care) เป็นการดูแลที่มุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ช่วยลดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยจะคำนึงถึงความต้องการและความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัวร่วมด้วยเสมอ โดยศูนย์มะเร็งฮอไรซันมีทีม Palliative Tumor Board ประกอบด้วยทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลแบบประคับประคองที่จะคอยติดตามประเมินอาการและให้การดูแลในทุกมิติอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ เรายังได้ร่วมมือกับบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำดนตรีบำบัดเข้ามาดูแลผู้ป่วยเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากการที่เราไม่หยุดที่จะพัฒนาตัวเองแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญในโลกปัจจุบัน คือการหาพันธมิตรที่มีเป้าหมายเดียวกัน โดยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในประเทศและในระดับสากล เพื่อพัฒนาการรักษาและส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้คน พร้อมสร้างเครือข่ายด้านการแพทย์ที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน นพ. รุจาพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โทร. 1378
No comments:
Post a Comment