ResMed ประกาศวิสัยทัศน์ตั้งเป้าหมายช่วยผู้คนกว่า 500 ล้านคนทั่วโลกใช้ชีวิตเต็มศักยภาพภายในปี 2030 ผ่านเทคโนโลยีการนอนและการหายใจ เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจปักธงบุกตลาดไทย เผยข้อมูลสำคัญจาก 2024 ResMed Global Sleep Survey พบว่า 22% ของประชากรในประเทศไทย เคยมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) พร้อมสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขและพันธมิตรในประเทศไทย เพื่อยกระดับการเข้าถึงการรักษา ลดความเสี่ยงและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสุขภาพการนอนและการหายใจ
นายคาลอส มอนเทียล รองประธานและผู้จัดการทั่วไป ResMed Asia Pte. Ltd. ผู้นำด้านนวัตกรรมสุขภาพการนอนและการหายใจ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมสุขภาพการนอนและการหายใจ ด้วยประสบการณ์กว่า 35 ปี มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ผู้คนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ได้มีการนอนหลับที่ดีขึ้นด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์และซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย ครอบคลุมตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการจัดการภาวะ OSA และปัญหาสุขภาพการนอนอื่นๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับคู่ค้า พาร์ทเนอร์และลูกค้าในการทำตลาดประเทศไทยอย่างจริงจัง
ล่าสุดเปิดสำนักงาน ResMed ประจำประเทศไทย นับเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่ตั้งเป้าหมายช่วยผู้คนกว่า 500 ล้านคนทั่วโลกใช้ชีวิตเต็มศักยภาพภายในปี 2030 ผ่านเทคโนโลยีการนอนและการหายใจ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงสาธารณสุขในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสุขภาพการนอนและการหายใจ ตลอดจนการให้ความรู้กับบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงการเข้าถึงเครื่อง CPAP ทั้งนี้ ResMed พร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของกระทรวงฯ และพาร์ทเนอร์ในประเทศไทย นอกจากนี้ผลการสำรวจ ResMed Global Sleep Survey 2024กลุ่มตัวอย่างในประเทศไทย 1,500 คน ระบุว่า 22% มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA)
“ResMed คือ ผู้นำระดับโลกในด้านนวัตกรรมการนอนหลับและการหายใจ ด้วยการผสานเทคโนโลยี Connected Health และ Digital Health เราได้สร้างระบบที่ช่วยให้แพทย์ ผู้ดูแลและผู้ป่วยสามารถเชื่อมต่อ พร้อมติดตามผลการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีข้อมูลด้านการหายใจมากกว่า 19 พันล้านคนจากผู้ป่วยทั่วโลก ซึ่งเติบโตถึง 28% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และมีผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคการนอนไม่หลับมากกว่า 28 ล้านคนทั่วโลกที่อยู่ในระบบซอฟต์แวร์ AirView ของเรา ซึ่งมีเพียง 0.02% เท่านั้นที่ได้เข้ารับการวินิจฉัย ดังนั้นการส่งมอบองค์ความรู้และสร้างการตระหนักแก่ประชากรในวงกว้างเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพเหล่านี้จึงมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของ ResMed คือ การพลิกโฉมการดูแลตรวจเช็คสุขภาพการนอน สุขภาพการหายใจได้จากที่บ้านผ่านโซลูชันชั้นนำของตลาด” นายคาลอส มอนเทียล กล่าว
สำหรับแนวโน้มการดูแลสุขภาพในรูปแบบไฮบริดและการติดตามผลทางไกลมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยมีบทบาทสำคัญในการดูแลตัวเองมากขึ้น โดย ResMed ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการเสริมศักยภาพผู้ป่วยและสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดในทุกขั้นตอน ResMed จึงได้นำเสนอผลิตภัณฑ์และซอฟแวร์ที่ครอบคลุมการดูแลสุขภาพการนอนหลับและการหายใจ อันได้แก่ เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก Respiratory Care Solution หน้ากากและอุปกรณ์เสริม ระบบการจัดการข้อมูลผู้ป่วยบนคลาวด์ และแอปพลิเคชั่นสำหรับผู้ป่วยที่ช่วยติดตามความคืบหน้าในการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพปัจจุบันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรมากกว่า 657 ล้านคน และประเทศไทยถือเป็นตลาดสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยศักยภาพการเติบโตทั้งในด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาระบบด้านสุขภาพ การเปิดสำนักงานในประเทศไทยช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้พันธมิตรทางธุรกิจของเรา และข่วยให้เราสามารถปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วยและแพทย์ในประเทศ
สำหรับช่องทางการทำตลาดจะมีตัวแทนจำหน่ายทั้งในส่วนการขายเข้าโรงพยาบาลและการขายออนไลน์ การสื่อสารการตลาด และการเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านสุขภาพให้กับผู้ป่วยในประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรทางธุรกิจและสนับสนุนการทำงานของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในการตรวจวินิจฉัย รักษา และติดตามผลอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญกับบริการหลังการขาย เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ การมีสำนักงานในไทยช่วยเสริมความยั่งยืนในการดูแลสุขภาพ สร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกต่อชีวิตผู้ป่วย และยกระดับสังคมไทยในระยะยาว
ResMed ย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพการนอนหลับและสุขภาพทางเดินหายใจให้กับคนไทย ด้วยการเปิดสำนักงานแห่งใหม่ในประเทศไทยและการนำเสนอโซลูชันที่ทันสมัย เราพร้อมสนับสนุนผู้ที่เผชิญปัญหาจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) ทั้งนี้สามารถตรวจเช็คคุณภาพการนอนกับ ResMed ได้ที่ https://www.resmed.co.th/online-sleep-assessment เพื่อก้าวแรกสู่การดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น
No comments:
Post a Comment